คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ PD ผู้นำด้านระบบจัดการน้ำมัน

รวมข้อควรรู้เกี่ยวกับระบบจัดการน้ำมัน

รวมข้อควรรู้เกี่ยวกับระบบจัดการน้ำมัน

PD หรือ พีดี เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ซัพพลาย 2018 เราเป็นผู้นำด้านระบบบริหารจัดการน้ำมันในองค์กรและอุตสาหกรรมแบบครบวงจร ตอบโจทย์กับความต้องการสำหรับผู้ประกอบการยุคใหม่

PD เป็นผู้นำเข้า ผลิตและจำหน่าย ระบบบริหารจัดการน้ำมัน ตู้จ่ายน้ำมัน ปั๊มดูดน้ำมันเชื้อเพลิง มือจ่ายน้ำมัน ถังน้ำมันเหล็ก เขียนแบบและออกแบบสถานีบริการน้ำมัน รับก่อสร้างสถานีบริการทั้งชนิดถังบนดินและใต้ดิน ขอใบอนุญาตประกอบกิจการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงทุกประเภท และบริการ Service ซ่อมตู้จ่ายน้ำมันทุกชนิด

โปรแกรมจัดการน้ำมัน คือ ระบบที่คอยควบคุมดูแลการใช้จ่ายน้ำมัน ป้องกันการทุจริตและมีบันทึกการใช้งานน้ำมันเชื้อเพลิงที่เติมไปยังเครื่องยนต์หรือเครื่องจักร มีระบบบันทึกการใช้งาน ระบุชื่อพนักงาน วันที่ เวลา จำนวนลิตร เลขไมล์รถ อีกทั้งยังสามารถกำหนดจำนวนลิตรการเติมต่อครั้ง ดูรายงานและสั่งการออนไลน์ ได้ทุกที่ ทุกเวลา แบบเรียลไทม์ ผ่านมือถือ แท็บเล็ต หรือ คอมพิวเตอร์

สำหรับผู้ประกอบกิจการ องค์กร ภาคอุตสาหกรรม ภาคขนส่งและโลจิสติกส์ ธุรกิจการเกษตร เครื่องจักรกลการเกษตร ธุรกิจก่อสร้าง ธุรกิจเหมืองแร่ ธุรกิจประมง เอกชนและหน่วยงานราชการ

ถังน้ำมันเชื้อเพลิงมี 3 ประเภท คือ ถังน้ำมันเชื้อเพลิง ทำด้วยพลาสติกหรือเหล็ก ความจุไม่เกิน 227 ลิตร , ถังน้ำมันเหล็ก ถังเก็บเชื้อเพลิง ทำด้วยเหล็ก ความจุเกินกว่า 227 ลิตร ขึ้นไป และ ถังขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง ทำด้วยเหล็ก อลูมิเนียมอัลลอยไม่จำกัดปริมาณ

ตู้จ่ายน้ำมันทั่วไปกับตู้ที่มีโปรแกรมจัดการน้ำมัน มีความแตกต่างกันตรงที่การจัดเก็บข้อมูลของตู้จ่ายน้ำมัน เช่น เวลาในการเติม ชื่อผู้เติม ทะเบียนรถ เลขไมล์รถ และปริมาณการเติมน้ำมัน โดยจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถควบคุมและจัดการกับสต๊อกน้ำมันได้ดีและมีประสิทธิภาพมากกว่า เนื่องจากสามารถทราบข้อมูลดังกล่าว และยังช่วยป้องกันทุจริตการเติมน้ำมันโดยไม่ได้รับอนุญาตได้ แต่ทั้งนี้ ตู้จ่ายน้ำมันที่มีโปรแกรมจัดการน้ำมันนั้นมีระบบที่มีความสลับซับซ้อนมากกว่าระบบตู้จ่ายน้ำมันทั่วไป จึงทำให้ต้องมีการใช้ผู้เชี่ยวชาญในการดำเนินการติดตั้งและดูแล ซึ่งจะส่งผลต่อค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้นกว่าการใช้งานตู้จ่ายน้ำมันทั่วไปนั่นเอง

ทำให้ประหยัดต้นทุนการใช้น้ำมัน สามารถตรวจสอบข้อมูลการใช้น้ำมันได้อย่างละเอียด และช่วยในการวางแผนจัดการการใช้น้ำมันของธุรกิจได้ง่าย ด้วยการควบคุมการใช้น้ำมันภายในกิจการได้ด้วยตัวเอง

สถานีบริการน้ำมันแบบทั่วไป จะใช้เวลาก่อตั้งประมาณ 3 เดือนจึงจะแล้วเสร็จ ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับพื้นที่ทำเลที่ตั้งว่ามีขนาดเท่าไหร่ หรือปัจจัยอื่นๆ ที่อาจส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงได้

หัวจ่ายน้ำมัน (Fuel nozzle) หรือ มือจ่ายน้ำมัน เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซิน ไปยังถังน้ำมันของเครื่องยนต์ ซึ่งจะถูกออกแบบมาใช้ให้มีลักษณะเหมือนมือจับ เราจึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มือจ่ายน้ำมัน ถูกออกแบบมาให้เหมาะกับการใช้งาน 2 แบบ คือ หัวจ่ายน้ำมันแบบธรรมดาและหัวจ่ายน้ำมันแบบอัตโนมัติ

หัวจ่ายน้ำมันแบบธรรมดาและแบบอัตโนมัติ มีข้อแตกต่างกัน 3 ข้อ คือ

  1. หัวจ่ายน้ำมันแบบอัตโนมัติจะมีอัตราการไหลของน้ำมันที่เร็วกว่าหัวจ่ายน้ำมันแบบธรรมดา ซึ่งหัวจ่ายน้ำมันแบบธรรมดาใช้กับปั๊มสูบจ่ายน้ำมันที่มีแรงดันไม่สูงมาก
  2. หัวจ่ายน้ำมันแบบอัตโนมัติจะทำการตัดน้ำมันอัตโนมัติเมื่อน้ำมันใกล้ล้นถัง
  3. หัวจ่ายน้ำมันแบบอัตโนมัติ วาล์วจะเปิดขึ้นพร้อมกับการไหลของน้ำมัน ทำให้ง่ายต่อการควบคุมการจ่ายน้ำมัน

หลายคนสงสัยว่าทำไมหัวจ่ายถึงรู้ว่าน้ำมันเต็มถังแล้ว เป็นเพราะว่า หัวจ่ายน้ำมันจะมีระบบอัตโนมัติที่เป็นเซ็นเซอร์ตรงหัวฉีด เมื่อไหร่ที่เติมน้ำมันจนเต็มถึง หัวฉีดก็จะจมในน้ำมัน แล้วระบบจะปิดแรงดันอากาศเพื่อปิดการไหลของน้ำมันทันที

หน้าที่หลักของตู้จ่ายน้ำมันที่ติดตั้งในองค์กรธุรกิจ หรือพื้นที่ต่างๆ เบื้องต้นก็คือการใช้เป็นเครื่องที่ช่วยในการขนถ่ายลำเลียงน้ำมันจากถังน้ำมันมาเติมยังรถ เครื่องจักร หรือภาชนะอื่นๆ ที่ต้องการ โดยจะมีหน้าปัดหรือหน้าจอที่แสดงผลตัวเลขปริมาณน้ำมันตามที่จ่ายออกไป แจ้งให้กับผู้เติมและเจ้าของได้ทราบถึงปริมาณการใช้ในแต่ละระยะเวลาที่ต้องการ ซึ่งจะนำไปสู่การสรุปและจัดทำเป็นรายงาน เพื่อใช้ในการวางแผนงบประมาณและการใช้น้ำมันอย่างคุ้มค่าของธุรกิจได้

ถังน้ำมันจะต้องถูกรับรองโดยวิศวกรผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้เซ็นยืนยันกำกับในใบรับรองการตรวจสอบถังน้ำมันอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรด้วย

ปั๊มดูดน้ำมันมี 4 ประเภท คือ

  1. ปั๊มดูดน้ำมันเชื้อเพลิงแบบแมคคานิค(แบบเครื่องกล)
  2. ปั๊มเชื้อเพลิงระบบไฟฟ้าหรือระบบอัตโนมัติ
  3. ปั๊มเชื้อเพลิงแบบเทอร์โบ
  4. และปั๊มดูดน้ำมันแบบระบบลม

ปั๊มดูดน้ำมันอัตโนมัติเหมาะกับการใช้งานในอุตสาหกรรมที่ต้องใช้เครื่องจักรใหญ่ๆ สถานีบริการน้ำมัน เพราะมีกำลังมากกว่า ส่วนปั๊มดูดน้ำมันแบบใช้ลมจะเหมาะกับกิจการขนาดเล็ก ที่ต้องการความสะดวก รวดเร็ว และสามารถเคลื่อนย้ายปั๊มลมได้

ปั๊มดูดน้ำมันดีเซลต่างจากปั๊มดูดน้ำมันเบนซิน มีข้อแตกต่างกัน 3 จุดหลักๆ คือ

  • มีการออกแบบต่างกันทั้งวัสดุที่ใช้ในการผลิตและการออกแบบโครงสร้าง
  • ชนิดของน้ำมันเชื้อเพลิง โดยน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องยนต์ดีเซลให้พลังงานสูงกว่าเครื่องยนต์เบนซินและมีราคาถูกกว่า
  • มีจุดเดือนที่ต่ำกว่าน้ำมันเบนซิน อยู่ที่ 250-350 องศาเซลเซียส อุปกรณ์ที่ใช้ก็สามารถใช้ได้ทั้งแบบเดียวกับของเบนซิน หรือจะเป็นเฉพาะของน้ำมันก็ได้

ไส้กรองในตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 2 ครั้งต่อปี เพราะมีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อไส้กรองในตู้น้ำมัน เช่น อายุของถังเก็บน้ำมัน หรือ คุณภาพของตัวน้ำมันเองก็มีส่วน โดยปกติแล้วผู้ดูแลระบบจะแนะนำให้เจ้าของตู้จ่ายน้ำมันเปลี่ยนทุกๆ 6 เดือนหรือหลังจากผ่านการใช้งานของตู้จ่ายน้ำมันไปแล้วประมาณ 200000 ลิตร

ถังน้ำมันทั้ง 2 ประเภท มีความแตกต่างที่ชัดเจน ทั้งในเรื่องการติดตั้งและการใช้งาน ซึ่งหากจะเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของถังน้ำมันทั้งสองประเภท เราจำเป็นต้องคำนึงถึงองค์ประกอบของลักษณะพื้นที่ในการให้บริการของสถานีบริการน้ำมันของเราเป็นสำคัญ เพื่อที่จะสามารถวิเคราะห์ได้ว่าลักษณะการใช้งานของเรานั้นเหมาะสมกับถังน้ำมันประเภทไหนมากกว่ากัน

สาเหตุของปัญหานี้อาจจะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับบริเวณของจุดที่รั่วซึมในหัวจ่ายน้ำมันของเรา เป็นปัญหาที่ไม่ควรปล่อยไว้เป็นระยะเวลานาน และควรเร่งแก้ไขในทันทีหากพบเห็นปัญหาหัวจ่ายน้ำมัน

สาเหตุของปัญหาหัวจ่ายน้ำมันไหลช้า อาจจะเกิดขึ้นได้จากหลายๆสาเหตุ และหนึ่งในสาเหตุที่สามารถพบได้บ่อยนั่นก็คือเกิดจากการปนเปื้อนหรือความไม่สะอาดของน้ำมันเชื้อเพลิงที่เราให้บริการ ซึ่งจะทำให้ไส้กรองภายในตู้จ่ายน้ำมันเกิดการอุดตันและส่งผลกระทบต่อไปถึงหัวจ่ายน้ำมันที่เราใช้งานอยู่ วิธีการแก้ไขที่ดีที่สุดคือ ควรเปลี่ยนไส้กรองอันใหม่ทดแทนอันเดิม

หากตู้จ่ายน้ำมันมีปัญหา เราควรพิจารณาจากหลายๆ ปัจจัยด้วยกัน พร้อมกับการเปรียบเทียบความคุ้มค่าว่าแบบไหนที่เหมาะสมมากที่สุด ซึ่งแนะนำว่าหากพิจารณาแล้วตู้จ่ายน้ำมันเดิมของผู้ประกอบการนั้นให้บริการมาแล้วเป็นระยะเวลานาน, มีฟังก์ชันการทำงานที่ยังไม่ตอบโจทย์การใช้งาน การเลือกซื้อตู้จ่ายน้ำมันเครื่องใหม่จะช่วยให้การดำเนินกิจการของเราเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

  • ลูกค้าแจ้งอาการเสียของตู้จ่ายน้ำมัน
  • ช่างเข้าตรวจสอบอาการเสียของตู้จ่ายน้ำมัน
  • ช่างนำเสนอแนวทางการซ่อม
  • ลูกค้าอนุมัติแนวทางการซ่อม
  • ช่างดำเนินการซ่อมตู้จ่ายน้ำมัน
  • ช่างทดสอบการทำงานของตู้จ่ายน้ำมัน
  • ช่างส่งมอบตู้จ่ายน้ำมันให้ลูกค้า

โปรแกรมจัดการน้ำมัน จะช่วยให้สามารถคาดการณ์ปริมาณน้ำมันในสต็อกเพื่อที่จะให้เพียงพอต่อการจำหน่าย อีกทั้งยังช่วยควบคุมการใช้งาน ช่วยลดต้นทุนและควบคุมความเสี่ยงเรื่องการทุจริตน้ำมันในองค์กรอีกด้วย

ความชื้นจากน้ำสามารถทำให้คุณสมบัติในการหล่อลื่นของน้ำมันลดลง ส่งผลกระทบต่อการทำงานของปั๊ม หากความชื้นเข้าไปที่ห้องเผาไหม้จะทำให้กลายเป็นไอน้ำและสร้างความเสียหายต่อเครื่องจักรได้ในภายหลัง หากเราปล่อยให้เวลาผ่านไปโดยไม่แก้ไขเป็นระยะเวลานาน จะทำให้คุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงให้มีคุณภาพแย่ลงอย่าง ชัดเจน

ตู้จ่ายน้ำมันที่ PD มีอยู่ด้วยกัน 4 แบบ คือ ตู้จ่ายน้ำมัน Smart Sapphire Lite
, ตู้จ่ายน้ำมัน Smart Cube Mechanic, ตู้จ่ายน้ำมัน Smart Cube Digital และตู้จ่ายน้ำมันแบบดิจิตอล

ถังน้ำมันเหล็ก ทำจากเหล็กแผ่นเกรด SS400 หรือเหล็กรีดร้อน จัดเป็นเหล็กมาตรฐานที่ได้รับความนิยมสูงเป็นอันดับต้นๆ ในประเทศไทย คุณสมบัติที่คงทน ความแข็งแรงที่สูงมาก และยังเชื่อมต่อกันได้ไม่ยาก

มิเตอร์วัดน้ำมันมีอยู่ด้วยกัน 4 ประเภท คือ มิเตอร์วัดน้ำมันรูปแบบลูกดิ่งลูกลอย, มิเตอร์วัดน้ำมัน Ocio, มิเตอร์วัดน้ำมัน OLE Tank Guage T5020 และมิเตอร์วัดน้ำมันระบบ MCS Cloud Gauge ที่เป็นมิเตอร์วัดน้ำมันที่ทันสมัยที่สุด

การขอใบอนุญาตสถานีบริการน้ำมัน ผู้ประกอบกิจการจำเป็นต้องตรวจสอบให้แน่ชัดเสียก่อนว่ากิจการที่เรากำลังดำเนินการอยู่นั้นอยู่ในเกณฑ์ของประเภทกิจการควบคุมประเภทใด เพราะขั้นตอนในการดำเนินกิจการแต่ละประเภทกิจการควบคุมจะมีวิธีและขั้นตอนที่แตกต่างกันออกไป ตั้งแต่สามารถประกอบกิจการได้ทันที, ก่อนจะประกอบกิจการต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบเสียก่อน และสุดท้ายที่จำเป็นต้องได้รับใบอนุญาตสถานีบริการน้ำมันก่อนถึงจะประกอบกิจการได้นั่นเอง

ทันทีที่เราทำการกดจ่ายน้ำมัน ระบบปั๊มจะทำการดูดน้ำมันส่งมาตามท่อที่เชื่อมกับหัวจ่าย จากนั้นหน่วยวัดที่หน้าตู้ก็จะเริ่มทำงานทันที

สาเหตุนี้เกิดมาจากอุณหภูมิด้านนอก เมื่ออุณหภูมิด้านนอกเปลี่ยน 10% ความหนาแน่นของน้ำมันก็จะเปลี่ยนตาม 1% ซึ่งก็มีส่วนที่จะทำให้น้ำมันลดลงได้เล็กน้อยเมื่อเติมช่วงที่อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น แต่หากใช้ตู้น้ำมันที่มีมิเตอร์วัดน้ำมันแล้ว ก็ไม่ต้องกังวลว่าจะไม่คุ้มค่า สามารถเติมในช่วงเวลาไหนก็ได้