เทคนิคการเลือกถังน้ำมันและตู้จ่ายน้ำมัน

การติดตั้ง “ถังน้ำมัน” และ “ตู้จ่ายน้ำมัน” ไว้ใช้เองในกิจการ

เพราะการประกอบธุรกิจนั้นมีต้นทุนและค่าใช้จ่ายด้านต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะหากธุรกิจของคุณเกี่ยวข้องกับด้านการขนส่ง ที่ทุกวันนี้มีต้นทุนด้านน้ำมันเชื้อเพลิงและมีการปรับราคาสูงขึ้นอยู่เสมอด้วยแล้ว ซึ่งหากมีส่วนที่สามารถนำมาบริหารจัดการเอง เพื่อช่วยทำให้ธุรกิจลดตุ้นทุนได้แล้ว ก็เป็นสิ่งที่สำคัญและไม่ควรพลาดเลยทีเดียว โดยหนึ่งในนั้นก็คือ การติดตั้ง “ถังน้ำมัน” และ “ตู้จ่ายน้ำมัน” ไว้ใช้เองในกิจการหรือธุรกิจของคุณ ซึ่งทำได้ไม่ยากอย่างที่คิด ลองมาทำความรู้จักไปพร้อม ๆ กับดูเทคนิควิธีการเลือกใช้ถังน้ำมันและตู้จ่ายน้ำมันประเภทต่าง ๆ ที่ พีดี เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ซัพพลาย 2018 รวบรวมมาแนะนำผู้ประกอบธุรกิจทุกชนิดได้ทราบและเตรียมตัวใช้กันได้เลย

 

การเลือกใช้ถังน้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel Storage Tank)

ถังน้ำมัน เป็นส่วนหลักสำหรับจัดเก็บบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดต่าง ๆ เพื่อเติมให้ยานพาหนะ เช่น น้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซิน เป็นต้น หรือเก็บน้ำมันชนิดอื่น ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในอุตสาหกรรม เช่น น้ำมันเตา น้ำมันก๊าด ฯลฯ โดยถังน้ำมันที่ใช้งานกับกิจการโดยทั่วไปจะมีลักษณะเป็นถังที่วางอยู่บนพื้นดิน หรือที่เรียกกันว่า ถังลอย โดยอาจจะมีการติดตั้งควบคู่กับตู้จ่ายน้ำมันหรือหัวจ่ายน้ำมันด้วยได้ เพื่อใช้ในการถ่ายเทน้ำมันจากถังน้ำมันไปยังยานพาหนะต่าง ๆ ได้สะดวกขึ้น ซึ่งเทคนิคในการเลือกใช้ถังน้ำมันสำหรับกิจการต่าง ๆ มีดังนี้

 

1. เลือกประเภทของถังน้ำมัน
ในเบื้องต้นมีประเภทของถังน้ำมันที่ใช้งานทั่วไปในธุรกิจต่าง ๆ นั้น ในปัจจุบันมีให้ 3 ประเภท ได้แก่

- ถังน้ำมันพลาสติก มักใช้ในการเก็บสำรองน้ำมันที่มีปริมาณไม่มาก สำหรับเติมยานพาหนะขนาดเล็ก หรืออุปกรณ์เครื่องมือขนาดเล็กต่าง ๆ ที่ต้องใช้การเติมน้ำมัน เช่น รถจักรยานยนต์ รถยนต์ เครื่องตัดหญ้า เป็นต้น มีจุดเด่นที่น้ำหนักหนักเบา มีความเหนียว ทนทานทั้งต่อการกัดกร่อนและไม่เป็นสนิม

- ถังน้ำมันสแตนเลส มีความแข็งแรงทนทาน และไม่เป็นสนิมเช่นเดียวกับถังพลาสติก แต่นิยมในการใช้บรรจุน้ำมันเพื่อการเดินทางและขนส่ง เช่น การส่งน้ำมันทางเรือ กิจกรรมตั้งแคมป์ เติมน้ำมันให้กับรถแข่ง เจ็ตสกิ เป็นต้น

- ถังน้ำมันเหล็ก เป็นถังที่เหมาะและนิยมต่อการใช้เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงในธุรกิจและกิจการต่าง ๆ เนื่องจากผลิตจากแผ่นเหล็กที่มีความแข็งแรงทนทานสูงมาก ไม่ว่าจะเป็นการกัดกร่อน แรงกระแทก จึงได้รับมาตรฐานด้านความปลอดภัยและน่าเชื่อถือ ติดตั้งแล้วใช้งานได้ยาวนานคุ้มค่านั่นเอง

2. เลือกขนาดของถังน้ำมัน
แน่นอนว่าปัจจัยหลักที่จะเป็นตัวกำหนดขนาดของถังน้ำมันได้ ก็คือ ปริมาณการใช้น้ำมันในกิจการ ว่าในแต่ละเดือนหรือแต่ละสัปดาห์นั้นมีการใช้หรือเติมน้ำมันให้กับยานพาหนะหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องมากน้อยแค่ไหน ตัวอย่างเช่น มีการเติมน้ำมันให้กับรถขนส่งสินค้าในกิจการเฉลี่ยวันละ 1,000 ลิตร ดังนั้นใน 1 เดือนจะมีการใช้น้ำมันประมาณ 30,000 ลิตร ซึ่งหากมีการนำน้ำมันจากแหล่งซื้อขายน้ำมันมาเติมอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง กิจการจึงควรมีถังน้ำมันที่สามารถเก็บน้ำมันได้มากกว่า 30,000 ลิตรขึ้นไป เป็นต้น

นอกจากนี้ ขนาดของถังน้ำมันยังเป็นตัวกำหนดการเลือกประเภทของถังน้ำมันที่จะใช้งานได้เช่นกัน เพราะจากข้อมูลการขออนุญาตมีถังน้ำมันไว้ใช้ในกิจการที่ กรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน ได้ระบุไว้เกี่ยวกับภาชนะที่ใช้บรรจุน้ำมันเชื้อเพลิง ที่ใหญ่กว่าขวดน้ำมันที่ทำจากแก้ว และกระป๋องน้ำมันเชื้อเพลิงพลาสติกและเหล็ก ได้แก่

- ถังน้ำมันเชื้อเพลิง ทำด้วยเหล็กหรือพลาสติก บรรจุเชื้อเพลิงได้ไม่เกิน 227 ลิตร
- ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง ทำด้วยเหล็ก บรรจุเชื้อเพลิงได้ 227 ลิตรขึ้นไป
- ถังขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง ทำด้วยเหล็กหรืออลูมิเนียมอัลลอย สามารถบรรจุได้แบบไม่จำกัดปริมาณ

 

3. เลือกถังน้ำมันที่ติดตั้งอุปกรณ์รักษาความปลอดภัย
เพราะน้ำมันเป็นวัตถุไวไฟ หากเกิดอุบัติเหตุ มีการรั่วไหลก็จะเกิดอันตรายได้ ถังน้ำมันที่ดีจึงต้องมีระบบรักษาความปลอดภัย ตามมาตรฐานความปลอดภัยตามที่กฎหมายกำหนด โดยอุปกรณ์ดังกล่าวจะมีดังนี้

1. Anti-Siphon Valve หรือ อุปกรณ์ป้องกันการไหลของน้ำมันเชื้อเพลิงอันเกิดจากแรงโน้มถ่วง โดย จะต้องติดตั้งที่ข้อต่อท่อจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ด้านที่ติดกับ ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง กรณีที่ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง ติดตั้งอยู่สูงกว่าตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง

2. Emergency Venting หรืออุปกรณ์ระบายความดันกรณีฉุกเฉิน เพิ่มเติม กรณีที่ อุปกรณ์ ระบายไอน้ำมันเชื้อเพลิงของถังมีค่าอัตราการ ระบายไอมันเชื้อเพลิงฉุกเฉินน้อยกว่าที่กําหนด ในกฎกระทรวงฯ (ตามข้อ 42(1)(ฉ))

3. Fire Emergency valve หรือลิ้นควบคุมการปิดโดยอัตโนมัติเมื่อท่อจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงถูกไฟไหม้ จะติดตั้งในกรณีที่ท่อจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงไม่ได้ต่อเข้ากับส่วนบนสุดของถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง

 

4. ถังน้ำมันต้องได้รับการตรวจสอบและรับรองจากวิศวกร
ถังน้ำมันจะต้องถูกรับรองโดยวิศวกรผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้เซ็นยืนยันกำกับในใบรับรองการตรวจสอบถังน้ำมันอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรด้วย

โดยถังน้ำมันที่ พีดี เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ซัพพลาย 2018 ให้บริการนั้น มีจำหน่ายทั้งถังน้ำมันเหล็กและถังน้ำมันพลาสติก ที่สามารถสั่งผลิตตามขนาดที่เหมาะสมกับกิจการได้ โดยมีขนาดถังตั้งแต่ 500 ลิตร ไปจนถึง 40,000 ลิตร มาพร้อมกับอุปกรณ์เซฟตี้ และผ่านการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยด้วย

 

การเลือกใช้งานตู้จ่ายน้ำมัน

หน้าที่หลักของตู้จ่ายน้ำมันที่ติดตั้งในองค์กรธุรกิจ หรือพื้นที่ต่าง ๆ ที่ต้องการนั้น เบื้องต้นก็คือการใช้เป็นเครื่องที่ช่วยในการขนถ่ายลำเลียงน้ำมันจากถังน้ำมันมาเติมยังรถ เครื่องจักร หรือภาชนะอื่น ๆ ที่ต้องการ โดยจะมีหน้าปัดหรือหน้าจอที่แสดงผลตัวเลขปริมาณน้ำมันตามที่จ่ายออกไป แจ้งให้กับผู้เติมและเจ้าของได้ทราบถึงปริมาณการใช้ในแต่ละระยะเวลาที่ต้องการ ซึ่งจะนำไปสู่การสรุปและจัดทำเป็นรายงาน เพื่อใช้ในการวางแผนงบประมาณและการใช้น้ำมันอย่างคุ้มค่าของธุรกิจได้

ซึ่งการเลือกตู้จ่ายน้ำมัน อาจเลือกตามรูปแบบของการติดตั้งเพื่อใช้งานที่เหมาะสมสำหรับกิจกรรมในกิจการ ซึ่งมีหลากหลายประเภท เช่น

 

1. ตู้จ่ายน้ำมันแบบแยกกับถังน้ำมัน
ที่ใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) มีลักษณะเป็นตู้ที่มาพร้อมกับหัวจ่ายน้ำมันและหน้าปัดแสดงปริมาณของน้ำมันที่เติม มักจะติดตั้งอยู่กับที่ใดที่หนึ่ง และไม่เคลื่อนย้าย โดยสามารถติดตั้งตู้จ่ายน้ำมันกับกำแพง ติดตั้งหน้าถังน้ำมัน หรือติดตั้งบนขาตั้งเหล็กได้ ซึ่งประเภทของระบบหน้าปัดของตู้จ่ายน้ำมันเป็น 2 ประเภท ได้แก่

- ตู้จ่ายน้ำมันระบบหน้าปัดแบบแมกคานิก (Mechanic) เช่น ตู้จ่ายน้ำมัน รุ่น Smart Cube Mechanic ซึ่งการแสดงผลตัวเลขมิเตอร์แบบหมุน (PIUSI K33) ตามจำนวนน้ำมันที่จ่ายออกจากถังน้ำมัน ตู้จ่ายน้ำมันประเภทนี้จะมีความทนทาน ใช้งานได้สะดวก ราคาไม่สูงมากนัก และมีความแม่นยำในการแสดงผลตัวเลขหน้าจอดี (Accuracy ±1%)

- ตู้จ่ายน้ำมันระบบหน้าปัดแบบดิจิทัล (Digital) เช่น ตู้จ่ายน้ำมัน รุ่น Smart Cube Digital ด้วยมิเตอร์แบบ OGM DPS25 แสดงหน้าจอพร้อมปุ่มที่สามารถควบคุมจำนวนปริมาณในการเติมน้ำมันแต่ละครั้งได้ มีความแม่นยำสูง (Accuracy ±0.5%) สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง

 

2. ตู้จ่ายน้ำมันแบบติดกับถังน้ำมัน
เช่น ตู้จ่ายน้ำมัน รุ่น Smart Cube with Tank ที่สามารถติดตั้งกับถังน้ำมันแบบถังลอยขนาด 500 ลิตร ถึง 40,000 ลิตรได้อย่างสะดวก มาพร้อมหน้าปัดแบบแมกคานิกที่ใช้งานง่าย และทนทานกับทุกสภาพอากาศ

 

3. ตู้จ่ายน้ำมันแบบตู้เดี่ยว
ที่เรามักจะคุ้นตาเพราะว่าสามารถพบเห็นได้ทั่วไปตามปั๊มน้ำมันต่าง ๆ นั่นเอง เช่น ตู้จ่ายน้ำมัน รุ่น TATSUNO G2 -111LP ที่เหมาะสำหรับใช้เป็นตู้จ่ายน้ำมันและเชื้อเพลิงหลายชนิด สำหรับกิจการ สถานีบริการน้ำมันค้าส่ง หรือปั๊มขนาดเล็ก ที่ต้องการความสะดวกในการเติมน้ำมันพร้อมการออกใบเสร็จรับเงินได้ ด้วยระบบเครื่องพิมพ์ใบเสร็จในตัว นอกจากนี้ยังมีระบบรักษาความปลอดภัยขั้นสูง ทั้งระบบป้องกันการระเบิดของมิเตอร์ ตลอดจนปุ่มหยุดฉุกเฉินด้วย

 

4. ตู้จ่ายน้ำมันอื่น ๆ
เช่น ชุดปั๊มจ่ายน้ำมันที่ต่อระบบไฟกระแสตรง (DC) ที่ติดมาพร้อมกับถังน้ำมันพลาสติก IBC ขนาดประมาณ 1,000 ลิตร ด้วยขนาดกะทัดรัด จึงสามารถเคลื่อนย้ายไปใช้ที่หน้างานและสถานที่ต่าง ๆ ที่ไม่มีไฟฟ้า เช่น สวน ไร่ ทุ่งนา หรือลานจอดรถ ฯลฯ ได้อย่างสะดวก เพราะสามารถพ่วงต่อไฟจากแบตเตอร์รีรถยนต์แทนได้เลย เช่น ตู้จ่ายน้ำมัน รุ่น Panther56-IBC 220V และ Battery Kit 3000 12V IBC เป็นต้น

 

นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์สำหรับจ่ายน้ำมันขนาดเล็กอื่น ๆ เพื่อใช้งานเฉพาะกิจ เช่น ชุดจ่ายน้ำมันหน้าถัง 200 ลิตร รุ่น EX50 Drum, ชุดปั๊มจ่ายน้ำมันดีเซล รุ่น PIUSI Drum, ชุดจ่ายน้ำมันดีเซลแบบพกพา รุ่น PIUSI Box 12V Basic และชุดจ่ายน้ำมันดีเซลแบบพกพา รุ่น Battery Kit 3000 DC 12V เป็นต้น

 

นอกเหนือจากถังน้ำมันและตู้จ่ายน้ำมันแล้ว ยังมีองค์ประกอบอื่น ๆ ที่ผู้ประกอบการธุรกิจที่ต้องการมีอุปกรณ์จัดเก็บน้ำมันไว้ใช้ในกิจการ ไม่ว่าจะเป็น


- แหล่งซื้อน้ำมัน เพื่อนำมาเติมถังน้ำมันที่ติดตั้งในกิจการ ซึ่งควรเป็นแหล่งที่จำหน่ายน้ำมันในราคาส่งเพื่อให้สามารถช่วยลดต้นทุนด้านการขนส่งของธุรกิจได้อย่างคุ้มค่า

- สถานที่ติดตั้งถังน้ำมันและตู้จ่ายน้ำมัน ในพื้นที่กิจการของคุณ นอกจากจะต้องเป็นพื้นที่ที่สามารถเติมถ่ายน้ำมันให้กับยานพาหนะของธุรกิจได้อย่างสะดวกแล้ว บริเวณที่ติดตั้งถังน้ำมันและตู้จ่ายน้ำมันจะต้องถูกต้องตามข้อกำหนดและกฎหมายตามที่กระทรวงพลังงานระบุด้วย

- การดำเนินการทำเรื่องขอมีถังน้ำมันและเก็บน้ำมันไว้ใช้ในกิจการ โดยต้องยื่นเอกสารขออนุญาตต่อกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน หรือสำนักงานพลังงานภูมิภาคก่อน จึงจะดำเนินการก่อนสร้างและติดตั้งถังน้ำมันและตู้จ่ายน้ำมันในกิจการของคุณได้

แม้ว่าเทคนิคการเลือกถังน้ำมันและตู้จ่ายน้ำมันสำหรับกิจการและธุรกิจจะมีรายละเอียดและขั้นตอนค่อนข้างมาก แต่หากคุณมีผู้เชี่ยวชาญที่ให้บริการเกี่ยวกับการติดตั้งถังน้ำมันและตู้จ่ายน้ำมันแบบครบวงจรช่วยเหลือ ก็จะทำให้คุณประหยัดเวลาและได้ใช้งานระบบบริหารจัดการน้ำมันในธุรกิจที่มีประสิทธิภาพได้ง่าย ๆ

 

โดย บริษัท พีดี เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ซัพพลาย 2018 จำกัด พร้อมให้บริการแก่ธุรกิจที่ต้องการมีถังน้ำมันและตู้จ่ายน้ำมันไว้ใช้ในกิจการแบบครบวงจร ตั้งแต่การให้คำปรึกษา ออกแบบ เขียนแบบถังน้ำมันและสถานีบริการโดยวิศวกรที่ได้มาตรฐานความปลอดภัย พร้อมด้วยบริการขออนุญาตประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิงกับกรมธุรกิจพลังงาน และผลิต นำเข้า จำหน่ายถังน้ำมันขนาดต่าง ๆ ตู้จ่ายน้ำมันและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนระบบบริหารจัดการน้ำมันด้วย

 

เรายินดีสนับสนุนทุกธุรกิจให้ได้ติดตั้งและมีถังน้ำมัน ตู้จ่ายน้ำมัน หรือสถานีบริการน้ำมันในกิจการอย่างคุ้มค่า มีคุณภาพ และปลอดภัยได้มาตรฐาน

 

สนใจสอบถามรายละเอียดและราคาติดต่อ :
บจก.พีดีเอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ซัพพลาย
โทรศัพท์ : 065-5121818 (ฝ่ายขาย) หรือ 089-9966974 (สายด่วน)
Website : www.pdesupply.com
Email : peerapong.p@pdesupply.com
LINE : @pdengineering