ท่อระบายอากาศของถังน้ำมันสำคัญอย่างไร

ทำไมจึงต้องใส่ใจกับท่อระบายอากาศและระบบระบายอากาศของถังน้ำมัน

ถังน้ำมันเหล็ก

สำหรับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและก๊าซธรรมชาติ เช่น สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง หรือผู้ประกอบการที่มีสถานที่เก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิงของตนเอง นอกจากจะต้องมีใบอนุญาตติดตั้งถังน้ำมันเชื้อเพลิงและเลือกใช้ถังน้ำมันที่ได้มาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็นถังน้ำมันเหล็ก ถังน้ำมันสแตนเลส หรือถังน้ำมันพลาสติกก็ตาม ยังต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติในการติดตั้ง และข้อควรรู้ ข้อควรระวังของถังน้ำมันเชื้อเพลิงอีกด้วย โดยเฉพาะในส่วนของท่อระบายอากาศของถังน้ำมันเชื้อเพลิง เพราะน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นเป็นวัตถุไวไฟ จึงต้องมีความใส่ใจในการเลือกใช้อุปกรณ์และการติดตั้ง รวมถึงต้องมีความระมัดระวังในระหว่างการใช้งานอีกด้วย

ท่อระบายอากาศของถังน้ำมันเชื้อเพลิง หรือถังน้ำมันเหล็กเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงนั้น ถือเป็นส่วนประกอบที่มีความสำคัญต่อการติดตั้งถังน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นอย่างมาก เพราะเป็นส่วนที่มีไว้ควบคุมแรงดันอากาศและสภาวะสุญญากาศภายในตัวถังน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อป้องกันไม่ให้ถังน้ำมันเชื้อเพลิงระเบิด จากการที่มีแรงดันในถังมากเกินค่าที่กำหนด และยังช่วยไม่ให้ถังน้ำมันยุบตัว จากการที่แรงดันในถังมีน้อยเกิดไปอีกด้วย

โดยท่อระบายอากาศถังน้ำมันเชื้อเพลิง จะทำหน้าที่ระบายการสะสมของแรงดันอากาศในถังน้ำมัน เมื่อมีแรงดันในถังน้ำมันมากเกินกว่าค่าที่กำหนด ท่อระบายอากาศจะทำหน้าที่ระบายแรงดันนั้นออกไปนอกถัง และรับอากาศภายนอกเข้ามาในถังน้ำมัน และเมื่อแรงดันภายในถังน้ำมันเชื้อเพลิงลดลง ถังน้ำมันเชื้อเพลิงก็จะไม่เกิดการระเบิด

ในขณะเดียวกัน หากแรงดันภายในถังน้ำมันเหล็กที่เก็บเชื้อเพลิงลดลงจนเหลือน้อยกว่าที่กำหนด ท่อระบายอากาศก็จะทำหน้าที่นำอากาศภายนอกเข้าสู่ตัวถังน้ำมัน เพื่อป้องกันไม่ให้ถังน้ำมันยุบตัว ซึ่งระบบระบายอากาศและท่อระบายอากาศของถังน้ำมันนั้น จะต้องออกแบบให้ได้มาตรฐานตามข้อกำหนด ISO28300/API Standard 2000; Venting Atmospheric and Low-pressure Storage Tank

ท่อระบายอากาศของถังน้ำมันเหล็กเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงนั้น ทำงานเป็นระบบร่วมกับวาล์ว โดยมีเรียกว่าระบบระบายความดันอากาศ (Venting devices)

วาล์วที่ทำงานร่วมกับท่อระบายอากาศของถังน้ำมันอยู่ 2 ตัว ดังนี้

  • วาล์วนิรภัย (Pressure Safety Valve) หรือ วาล์วระบายแรงดัน (Pressure Relief Valve) มีหน้าที่ระบายแรงดันในระบบออก โดยวาล์วจะทำงานเองแบบอัตโนมัติ เมื่อมีแรงดันในถังน้ำมันเกินกว่าคำที่กำหนด 

    โดย Pressure Relief Valve จะระบายแรงดันแบบ Proportional ถ้ามีแรงดันเข้ามามาก วาล์วก็จะเปิดระบายมาก แต่ถ้ามีแรงดันเข้ามาน้อย วาล์วก็จะเปิดน้อย เป็นวาล์วที่ใช้กับของเหลวที่บีบอัดตัวไม่ได้ เช่น น้ำมัน ซึ่งน้ำมันจะขยายตัวจนเกิดแรงดันเพราะความร้อน และจะระบายแรงดันออกอย่างช้า ๆ


    ส่วน Pressure Safety Valve จะระบายแรงดันแบบ Pop Action ด้วยการเปิดและปิดการระบายอย่างรวดเร็วโดยอาศัยแรงดันภายในวาล์ว ซึ่งส่วนใหญ่จะตั้งค่าแรงดันที่ต้องระบายไว้ที่ Maximum Allowable Working Pressure (MAWP) หรือ แรงดันสูงสุดที่ระบบสามารถรับได้ เป็นวาล์วที่ใช้กับของเหลวที่บีบอัดได้ เช่น ก๊าซธรรมชาติ ที่ต้องมีการรับระบายแรงดันอย่างรวดเร็ว เพื่อป้องกันการระเบิด

  • วาล์วแรงดันสูญญากาศ (Pressure Vacuum Valve หรือ PV Valve หรือ Breather Valve) ทำหน้าที่ระบายแรงดันในระบบออกสู่ภายนอก เมื่อมีแรงดันในถังน้ำมันเกินกว่าคำที่กำหนด และเปิดให้อากาศภายนอกเข้ามาในถังน้ำมัน เมื่อมีแรงดันของสภาวะสุญญากาศต่ำกว่าที่กำหนด ซึ่งวาล์วควรระบายแรงดันในถังให้เท่ากับค่า Allowable Tank Pressure ให้มากที่สุด


โดยท่อระบายอากาศของถังน้ำมัน จะต้องออกแบบให้มีความดันไม่เกิน 7.5 มิลลิบาร์ และความดันสุญญากาศไม่เกิน 2.5 มิลลิบาร์ ตามกฎของกระทรวงพลังงาน เกี่ยวกับสถานที่เก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2551 และห้ามใช้ระบบระบายอากาศถังน้ำมันแบบระบายสู่สิ่งแวดล้อมโดยตรง (Open Vent)

และเมื่อมีการติดตั้ง Pressure Vacuum Valve แล้ว ก็ต้องทดสอบการทำงานของระบบระบายอากาศในถังน้ำมันก่อนใช้งานอีกด้วย ซึ่งการทดสอบยังคงต้องทดสอบตามข้อกำหนดของ ISO28300/API Standard 2000; Venting Atmospheric and Low-pressure Storage Tank เพื่อดูว่าระบบระบายอากาศจะทำงานตามค่าที่กำหนดไว้หรือไม่ ซึ่งโดยส่วนใหญ่ค่าเกณฑ์ที่ระบบระบายอากาศรับได้ มักอยู่ที่ +/-10% ของค่าแรงดันสุญญากาศที่ตั้งไว้


แต่ทั้งนี้การเลือกใช้อุปกรณ์ระบบระบายอากาศของถังน้ำมันเชื้อเพลิง จะต้องพิจารณาจากหลายส่วนประกอบกัน โดยต้องดูจากปริมาตรของถังน้ำมัน ปริมาณของน้ำมันเชื้อเพลิงในถัง ลักษณะการใช้งานถังน้ำมันเหล็ก รวมถึงลักษณะพื้นที่ที่ติดตั้งถังน้ำมัน

และนอกจากจะต้องใส่ใจติดตั้งระบบระบายอากาศของถังน้ำมันให้มีประสิทธิภาพแล้ว ยังต้องปฏิบัติตามกฎของกระทรวงพลังงานในเรื่องระยะห่างที่ปลอดภัยของถังน้ำมันและรั้วของสถานประกอบการหรือทางสาธารณะอีกด้วย โดยระยะห่างที่เหมาะสมจะคำนวณจากปริมาตรของถังน้ำมัน และค่าความดันของถังน้ำมันเชื้อเพลิงในถัง

ระบบระบายอากาศและท่อระบายอากาศของถังน้ำมันเหล็กที่บรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงนั้น นอกจากจะช่วยป้องกันอุบัติเหตุถังน้ำมันระเบิด หรือถังน้ำมันยุบตัวที่อาจก่อให้เกิดอัคคีภัยแล้ว ยังมีความสำคัญในเรื่องของการช่วยลดความสูญเสียน้ำมันถังจากการเกิดอุบัติเหตุได้ด้วย และยังมีส่วนช่วยในการลดมลพิษที่จะปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม

ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยของสิ่งแวดล้อมและสถานที่ประกอบการเอง จึงควรใส่ใจกับการติดตั้งระบบระบายอากาศและท่อระบายอากาศของถังน้ำมันเชื้อเพลิงอย่างละเอียด เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ และอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน

หากต้องการคำปรึกษาและออกแบบระบบจัดการน้ำมัน สามารถติดต่อมาได้ที่ บริษัท พีดี เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ซัพพลาย 2018 ผู้นำด้านระบบจัดการน้ำมันสำหรับผู้ประกอบการ นอกจากนี้ยังผลิต นำเข้า และจำหน่ายอุปกรณ์ต่าง ๆ สำหรับกิจการน้ำมันเชื้อเพลิง

 

สนใจถังน้ำมันเหล็ก สอบถามถังน้ำมันราคา ติดต่อ :
บจก.พีดีเอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ซัพพลาย
โทรศัพท์ : 065-5121818 (ฝ่ายขาย) หรือ 089-9966974 (สายด่วน)
Website : www.pdesupply.com
Email : peerapong.p@pdesupply.com
LINE : @pdengineering