รู้หรือไม่ ! น้ำมัน 1 ลิตรหักภาษีอะไรบ้าง

ทำความเข้าใจในราคาน้ำมันไปกับเส้นทางต้นทุนในโครงสร้างราคาน้ำมัน

น้ำมัน 1 ลิตรหักภาษีอะไรบ้าง

น้ำมันที่เราใช้เติมกันในปัจจุบันนี้ ที่ใครหลายๆคนเห็นก็รู้สึกได้ถึงราคาที่แสนจะแพงขึ้นในทุกๆวัน แต่ท่านทราบหรือไม่ว่าก่อนที่น้ำมันจากตู้จ่ายน้ำมันแต่ละลิตรจะเดินทางเข้าสู่ถังน้ำมันของตัวรถยนต์ของเรา ล้วนประกอบไปด้วยโครงสร้างต้นทุนแฝงที่เราผู้บริโภคอาจจะไม่เคยได้ยินมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นภาษีสรรพสามิต ภาษีเทศบาล และอื่นๆ ชวนทำความเข้าใจให้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้นกับราคาน้ำมัน 1 ลิตรนั้นประกอบไปด้วยภาษีอะไรบ้าง

มีภาษีและกองทุนอะไรบ้างในโครงสร้างน้ำมัน

สาเหตุที่สำคัญนั้นคือรัฐบาลต้องมีการเรียกเก็บเพิ่มเติมจากราคาน้ำมันที่ให้บริการผ่านตู้จ่ายน้ำมัน ก็เพื่อให้เราสามารถเพิ่มรายได้อีกหนึ่งช่องทางสำหรับการพัฒนาประเทศนั่นเอง ตัวอย่างภาษีที่สามารถจะอยู่ในโครงสร้างของราคาน้ำมันเช่นภาษีสรรพสามิต, ภาษีเทศบาล , ภาษีมูลค่าเพิ่ม และนอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับราคาน้ำมันที่ได้รับจากตู้จ่ายน้ำมันอย่างเช่น ราคาหน้าโรงกลั่น, กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงและ กองทุนส่งเสริมเพื่อการอนุรักษ์พลังงานที่ ที่จะเข้ามามีบทบาทในโครงสร้างราคาน้ำมันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

เส้นทางของราคาต้นทุนน้ำมันในโครงสร้างราคาน้ำมัน

หากให้จินตนาการถึงตัวอย่างราคาน้ำมันที่จะให้บริการจากตู้จ่ายน้ำมัน ตัวอย่างเช่นแก๊สโซฮอล์ 91 ที่มีราคาต่อลิตรอยู่ที่ 41.28 บาท เราสามารถแบ่งเส้นทางของราคาต้นทุนน้ำมันในโครงสร้างราคาน้ำมันได้ดังนี้

  • ราคาหน้าโรงกลั่นอยู่ที่ 27.1242 บาท ซึ่งสำหรับประเทศไทยของเรานั้นจะอ้างอิงราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นจากตลาดในประเทศสิงคโปร์ โดยราคาที่ได้นี้จะมาจากต้นทุนของน้ำมันดิบ และค่าใช้จ่ายในด้านต่างๆที่สำคัญที่มาจากกระบวนการผลิตของโรงกลั่น

  • ภาษีสรรพสามิต 5.8500 บาท ซึ่งภาษีสรรพสามิตนี้จะเป็นภาษีที่ถูกจัดเก็บจากสินค้าประเภทน้ำมันเชื้อเพลิงที่เราใช้บริการจากตู้จ่ายน้ำมัน เนื่องจากเป็นน้ำมันนั้นถูกจัดเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย จึงต้องมีการจัดเก็บภาษีดังกล่าวสำหรับนำไปพัฒนาประเทศในด้านต่างๆที่สำคัญ โดยอัตราภาษีที่ถูกจัดเก็บนี้จะเป็นไปตามอัตราภาษีโครงสร้างน้ำมันแต่ละประเภทที่สรรพสามิตเป็นคนกำหนด

  • ภาษีบำรุงเทศบาล 0.5850 บาท โดยภาษีบำรุงเทศบาลนี้จะเป็นการเก็บสำหรับจ่ายให้กับหน่วยงานท้องถิ่น เช่น กทม. เทศบาล หรือตามที่หน่วยงานท้องถิ่นนั้นประกาศและกำหนดตามพระราชบัญญัติรายได้เทศบาล พ.ศ. 2497 โดยจำนวนภาษีที่จะถูกคิดนั้นจะอยู่ในอัตรา 10% ของภาษีสรรพสามิตสำหรับเป็นเงินอุดหนุนและดูแลพื้นที่ที่มีโรงกลั่นตั้งอยู่

  • กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 0.0900 บาท โดยมีวัตถุประสงค์ที่กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงอยู่ในโครงสร้างต้นทุนราคาน้ำมันที่เราใช้บริการจากตู้จ่ายน้ำมันก็เพื่อรักษาเสถียรภาพระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ ในกรณีที่ราคาน้ำมันมีการมีความผันผวนในตลาดโลกสูงเกินไปให้อยู่เกณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับหากเกิดเหตุการณ์วิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิงโดยเฉพาะ โดยอัตราการเก็บขึ้นอยู่กับน้ำมันบางชนิด และน้ำมันบางชนิดอาจจะไม่จำเป็นต้องเก็บ หรือน้ำมันบางชนิดอาจจะได้รับการอุดหนุนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงได้เช่นเดียวกัน

  • กองทุนอนุรักษ์พลังงาน 0.0050 บาท โดยมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นทุนในการหมุนเวียนและเป็นค่าใช้จ่ายที่จะเข้ามามีส่วนช่วยเหลือหรืออุดหนุนการดำเนินงานที่จะเกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงาน โดยน้ำมันทุกประเภทจะมีอัตราการเก็บที่เท่าๆกันเป็นสำคัญ

  • ภาษี VAT ขายส่ง 2.3558 บาท โดยจะเป็นภาษีจากการบริโภคที่เป็นการจัดเก็บเมื่อมีการเริ่มขายน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศก่อนส่งเข้าสู่ถังน้ำมันเหล็กในปั๊มน้ำมัน ในประเทศไทยกรมสรรพากรจะมีการจัดเก็บภาษีสำหรับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงอยู่ที่ 7% จากราคาขายส่งครั้งแรก (คำนวณจากราคาตั้งแต่ ราคาหน้าโรงกลั่นไปจนถึงกองทุนอนุรักษ์พลังงาน จะเป็นราคาขายส่งอยู่ที่ 33.6542 บาท ซึ่งเมื่อรวม VAT 7% จะได้ 2.3558 บาท)

  • ค่าการตลาด 4.9253 บาท โดยค่าการตลาดนี้จะกำหนดผ่านผู้ประกอบการที่สามารถกำหนดได้อย่างเสรี ภายใต้กลไกตลาด เปรียบเสมือนเป็นกำไรของธุรกิจ (ค่าการตลาดเป็นปัจจัยสำคัญที่จะถูกคำนวณใน VAT ขายปลีก)

  • ค่าภาษี VAT ขายปลีก 0.3448 โดยจะเป็นภาษีจากการบริโภคที่เป็นการจัดเก็บเมื่อมีการเริ่มขายน้ำมันผ่านตู้จ่ายน้ำมันในปั๊มน้ำมัน ในประเทศไทยกรมสรรพากรจะมีการจัดเก็บภาษีอยู่ที่ 7% นับตั้งแต่มีการตั้งราคาน้ำมันผ่านค่าการตลาด (คำนวณจากราคาของค่าการตลาดที่ผู้ประกอบการเป็นผู้ตั้ง ในกรณีนี้อยู่ที่ 4.9253 บาท)

ทำไมราคาน้ำมันในไทยถึงแพงกว่าบางประเทศ

สาเหตุที่น้ำมันที่เราใช้บริการจากตู้จ่ายน้ำมันในประเทศไทยนั้นมีราคาที่ดูจะแพงกว่าประเทศเพื่อนบ้านบางประเทศอย่างเช่น มาเลเซีย ที่มีอัตราค่าน้ำมันถูกกว่าไทยโดยประมาณ 50 - 60% ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วประเทศมาเลเซียนั้นมีราคาต้นทุนน้ำมันดิบ, ราคาหน้าโรงกลั่น, และค่าการตลาดของผู้ประกอบการที่ใกล้เคียงกัน นั้นก็เป็นเพราะว่าประเทศไทยเรานั้นถูกจัดเป็นประเทศผู้นำเข้าน้ำมันดิบมากกว่า 87% โดยมีที่ผลิตน้ำมันเองได้อยู่ที่ 13% จะแตกต่างจากผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่และมีรายได้หลักจากการส่งออกน้ำมันดิบอย่างประเทศมาเลเซีย รัฐบาลมาเลเซียจึงสามารถนำเงินเหล่านี้มาอุดหนุนภาษีน้ำมัน ทำให้ผู้บริโภคน้ำมันที่ใช้บริการกับตู้จ่ายน้ำมันของผู้ประกอบการไม่จำเป็นต้องถูกเรียกเก็บภาษีน้ำมันดังกล่าว และมีต้นทุนน้ำมันที่ถูกเนื่องจากมีกำลังผลิตที่เยอะกว่าอย่างมีนัยสำคัญนั้นเอง

เราจะเห็นได้ว่าน้ำมันทุกๆลิตรที่เราใช้บริการจากตู้จ่ายน้ำมันในประเทศไทยนั้นจะประกอบไปด้วยโครงสร้างต้นทุนที่ส่งผลต่อราคาน้ำมันหลายอย่างด้วยกันไม่ว่าจะเป็น ราคาหน้าโรงกลั่น, ภาษีสรรพสามิต, ภาษีบำรุงเทศบาล, กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง, กองทุนอนุรักษ์พลังงาน, ภาษี Vat ขายส่ง, ค่าการตลาด และภาษี VAT ขายปลีกที่ล้วนจะส่งผลต่อราคาน้ำมันที่เราใช้บริการจากตู้จ่ายน้ำมันของผู้ประกอบการอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญสำหรับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมน้ำมันที่เป็นผู้ควบคุมปัจจัยค่าการตลาดอย่างมีประสิภาพ ควรเลือกใช้ตู้จ่ายน้ำมัน ถังน้ำมันเหล็กคุณภาพสำหรับให้บริการได้เป็นระยะเวลาที่ยาวนาน ไม่จำเป็นต้องสูญเสียเงินลงทุนไปกับการเปลี่ยนตู้จ่ายน้ำมัน ถังน้ำมันเหล็กอยู่บ่อยครั้ง สำหรับผู้ประกอบการท่านใดที่กำลังมองหาผู้ให้บริการตู้จ่ายน้ำมัน ถังน้ำมันเหล็กคุณภาพสูง การเลือกใช้บริการจาก บริษัท พีดี เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ซัพพลาย 2018 จำกัดก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เหมาะสม ด้วยความเป็นผู้นำเข้า ผลิต และจำหน่ายหัวจ่ายน้ำมัน ปั๊มดูดน้ำมันเชื้อเพลิง ระบบจัดการน้ำมัน ตู้จ่ายน้ำมัน และ ถังน้ำมันเหล็ก มากประสิทธิภาพ มั่นใจได้ถึงการใช้งานอย่างยาวนาน นอกจากนี้ยังมีทีมงานมืออาชีพผู้เชี่ยวชาญด้านตู้จ่ายน้ำมัน ถังน้ำมันเหล็ก และอื่นๆอีกมากมายโดยเฉพาะ สามารถให้คำปรึกษากับผู้ประกอบการที่สนใจติดตั้ง ตู้จ่ายน้ำมัน ถังน้ำมันเหล็กสำหรับให้บริการลูกค้าทุกท่านได้ตามความเหมาะสมในการใช้งานอย่างเหมาะสม ประสิทธิภาพสูง

 

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ตู้จ่ายน้ำมัน ถังน้ำมัน ถังน้ำมันเหล็ก ติดต่อ :
บจก.พีดีเอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ซัพพลาย
โทรศัพท์ : 065-5121818 (ฝ่ายขาย) หรือ 089-9966974 (สายด่วน)
Website : www.pdesupply.com
Email : peerapong.p@pdesupply.com
LINE : @pdengineering