การขออนุญาตตั้งปั๊มน้ำมัน วิธีการขอใบอนุญาตประกอบกิจการปั๊มน้ำมัน

หลักเกณฑ์และขั้นตอนในการขออนุญาตตั้งสถานีบริการน้ำมัน

น้ำมันปิโตรเลียมดิบ หรือน้ำมันดิบ (Crude Oil) ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในเชื้อเพลิงหลักที่มีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนของภาคธุรกิจและระบบเศรษฐกิจของทุกประเทศทั่วโลก เพราะไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ รถบรรทุก เรือ หรือเครื่องบิน ก็ล้วนแล้วแต่จะต้องใช้น้ำมันเพื่อเป็นเชื้อเพลิงในการขับเคลื่อนด้วยกันทั้งสิ้น ส่งผลให้ในปัจจุบันนี้ทั่วโลกจึงมีสัดส่วนการใช้พลังงานจากน้ำมันดิบนับเป็นปริมาณมากกว่า 30% เมื่อเทียบกับสัดส่วนการใช้พลังงานจากแหล่งพลังงานอื่น ๆ ที่มีอยู่บนโลก หรือคิดเป็นปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเฉลี่ยรวมกันทั้งโลกที่ราว ๆ 100 ล้านบาร์เรล ต่อวัน เลยทีเดียว

ด้วยเหตุนี้ธุรกิจปั๊มน้ำมันและตู้จ่ายน้ำมันจึงถือเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มีความน่าสนใจและสามารถเติบโตไปได้ไกลท่ามกลางกระแสสังคมที่ยังคงขับเคลื่อนด้วยภาคอุตสาหกรรมที่มีความต้องการในการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในปริมาณมหาศาลแบบนี้แบบนี้ วันนี้เราจึงมีข้อมูลดี ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขออนุญาตตั้งปั๊มน้ำมันกันว่าจะต้องมีขั้นตอนในการดำเนินการ รวมไปถึงการเตรียมเอกสารต่าง ๆ อย่างไรบ้าง

 


ตัวอย่างใบอนุญาตจาก กรมธุรกิจพลังงาน

ประเภทของสถานีบริการน้ำมัน

  • สถานีบริการน้ำมัน ประเภท ก หมายถึง สถานีบริการน้ำมันที่ให้บริการแก่ยานพาหนะทางบกซึ่งตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ที่ติดกับเขตทางหลวงหรือถนนสาธารณะ โดยในบริเวณที่ใช้เป็นทางเข้าและทางออกจากสถานีบริการน้ำมันหากตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ติดกับเขตทางหลวงหรือถนนสาธารณะจะต้องมีความกว้างของถนนไม่น้อยกว่า 12 เมตร แต่ถ้าหากตั้งอยู่ติดกับเขตถนนส่วนบุคคล บริเวณที่ใช้เป็นทางเข้าและทางออกจากสถานีบริการน้ำมันจะต้องมีความกว้างของถนนไม่น้อยกว่า 10 เมตร และต้องมีการวางระบบจัดการน้ำมันเพื่อเก็บน้ำมันเอาไว้ในถังน้ำมันใต้พื้นดิน

  • สถานีบริการน้ำมัน ประเภท ข หมายถึง สถานีบริการน้ำมันที่ให้บริการแก่ยานพาหนะทางบกซึ่งตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ที่ติดกับเขตถนนสาธารณะ โดยในบริเวณที่ใช้เป็นทางเข้าและทางออกจากสถานีบริการน้ำมัน แต่ถ้าหากตั้งอยู่ติดกับเขตถนนส่วนบุคคล บริเวณที่ใช้เป็นทางเข้าและทางออกจากสถานีบริการน้ำมันจะต้องมีความกว้างของถนนน้อยกว่า 10 เมตร และต้องมีการวางระบบจัดการน้ำมันเพื่อเก็บน้ำมันเอาไว้ในถังน้ำมันใต้พื้นดิน

  • สถานีบริการน้ำมัน ประเภท ค ลักษณะที่สอง หมายถึง สถานีบริการน้ำมันที่ให้บริการแก่ยานพาหนะทางบก ซึ่งมีระบบจัดการน้ำมันชนิดไวไฟปานกลาง (น้ำมันก๊าด น้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับเครื่องบิน เป็นต้น) และน้ำมันชนิดไวไฟน้อย (น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา น้ำมันหล่อลื่น เป็นต้น) ที่มีปริมาณมากกว่า 10,000 ลิตร ขึ้นไป โดยการเก็บน้ำมันเอาไว้ในถังน้ำมันเหนือพื้นดิน และมีการเก็บน้ำมันที่มีปริมาณไม่เกิน 5,000 ลิตร เอาไว้ในถังน้ำมันในบริเวณใต้พื้นดิน

  • สถานีบริการน้ำมัน ประเภท จ ลักษณะที่สอง หมายถึง สถานีบริการน้ำมันที่มีระบบจัดการน้ำมันเพื่อการเก็บน้ำมันที่มีปริมาณมากกว่า 10,000 ลิตร ขึ้นไป ซึ่งเป็นน้ำมันชนิดไวไฟปานกลาง และน้ำมันชนิดไวไฟน้อย เอาไว้ในถังน้ำมันเหนือพื้นดิน ถังน้ำมันใต้พื้นดิน หรือถังน้ำมันที่ติดตั้งภายในโป๊ะเหล็กเพื่อการให้บริการที่เรือสถานีบริการน้ำมัน ประเภท จ ลักษณะที่สอง หมายถึง สถานีบริการน้ำมันที่มีระบบจัดการน้ำมันเพื่อการเก็บน้ำมันที่มีปริมาณมากกว่า 10,000 ลิตร ขึ้นไป ซึ่งเป็นน้ำมันชนิดไวไฟปานกลาง และน้ำมันชนิดไวไฟน้อย เอาไว้ในถังน้ำมันเหนือพื้นดิน ถังน้ำมันใต้พื้นดิน หรือถังน้ำมันที่ติดตั้งภายในโป๊ะเหล็กเพื่อการให้บริการที่เรือ

 

หลักเกณฑ์ในการขออนุญาตตั้งปั๊มน้ำมัน

โดยทั่วไปแล้ว สำหรับผู้ประกอบการที่มีความประสงค์จะประกอบกิจการสถานีบริการน้ำมัน หรือปั๊มน้ำมันประเภท ก, ข, ค ลักษณะที่สอง และ จ ลักษณะที่สอง จะต้องทำการยื่นขออนุญาต และต้องได้รับใบอนุญาตในการเป็นเจ้าของกิจการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงก่อน จึงจะสามารถประกอบกิจการดังกล่าวได้ ซึ่งในการขออนุญาตเพื่อจัดตั้งปั๊มน้ำมันและระบบจัดการน้ำมันนั้นจะต้องไม่ขัดต่อกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ยกตัวอย่างเช่น กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เป็นต้น และนอกจากนี้แผนผังบริเวณที่จะใช้จัดตั้งปั๊มน้ำมัน รวมไปถึงแบบก่อสร้างและรายการคำนวณ จะต้องมีลักษณะเป็นไปตามกฎกระทรวงสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2552

 


แผนภูมิแสดงขั้นตอนการแจ้ง การพิจารณาการแจงการเลิกประกอบกิจการและารโอนกิจการของผูประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 2 (ปั๊มถังลอยริมถนน ขนาดเล็ก ปมหลอดแกวมือหมุน และสถานีบริการทางน้ําขนาดเล็ก)

 

ขั้นตอนในการยื่นขออนุญาตตั้งปั๊มน้ำมัน

สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการยื่นขออนุญาตในการเป็นเจ้าของกิจการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงสามารถทำการยื่นเอกสารเพื่อขอแจ้งความประสงค์ได้ที่กรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน (สำหรับเขตกรุงเทพมหานคร) และที่สำนักงานพลังงานภูมิภาค หรือสำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (สำหรับเขตจังหวัดอื่น ๆ นอกจากกรุงเทพมหานคร) โดยมีระยะเวลาในการดำเนินการรวม 45 วันทำการ และมีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้

  • การตรวจสอบเอกสาร เจ้าหน้าที่จะทำการรับคำขอ และตรวจสอบความถูกต้องและความครบถ้วนของเอกสารตามรายการเอกสารที่กำหนด ก่อนจะดำเนินการส่งเรื่องไปยังสำนักความปลอดภัยธุรกิจน้ำมันเพื่อการพิจารณาคำขอ โดยมีระยะเวลาในการดำเนินการ 1 วันทำการ
  • การพิจารณา เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบจะทำการพิจารณาและตรวจสอบเอกสารต่าง ๆ โดยมีระยะเวลาในการดำเนินการ 42 วันทำการ
  • การลงนาม/คณะกรรมการมีมติ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบจะทำการลงนามในหนังสือเพื่อแจ้งผลการพิจารณาใบอนุญาตในการเป็นเจ้าของกิจการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง โดยมีระยะเวลาในการดำเนินการ 2 วันทำการ

 

รายการเอกสารและหลักฐานประกอบที่ต้องเตรียมสำหรับการยื่นขออนุญาตตั้งปั๊มน้ำมัน

  • คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการ (แบบ ธพ.น. ๑)
  • บัตรประจำตัวประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • หนังสือรับรองนิติบุคคล
  • หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี) พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
  • สำเนาเอกสารแสดงสิทธิใช้ที่ดิน เช่น โฉนดที่ดิน / น.ส.๓ / น.ส.๓ ก / ส.ค.๑ เป็นต้น
  • สำเนาเอกสารแสดงว่าผู้ขอรับใบอนุญาต มีสิทธิใช้ที่ดิน หรือหนังสือยินยอมให้ใช้ที่ดินหรือหนังสือยินยอมจากหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลและรับผิดชอบที่ดินดังกล่าว
  • สำเนาหนังสือแจ้งการตรวจสอบการใช้ประโยชน์ที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
  • แผนผังโดยสังเขป แผนผังบริเวณและแบบก่อสร้าง ระบบความปลอดภัย ระบบควบคุมมลพิษ ระบบท่อน้ำมัน ระบบท่อดับเพลิง ระบบบำบัดน้ำเสียหรือแยกน้ำปนเปื้อนน้ำมัน ระบบอุปกรณ์นิรภัย แบบระบบไฟฟ้า ระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าและสิ่งปลูกสร้างอื่น แล้วแต่กรณี
  • รายการคำนวณความมั่นคงแข็งแรง และระบบที่เกี่ยวข้อง
  • หนังสือรับรองของวิศวกร พร้อมสำเนาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
  • สำเนาหนังสืออนุญาตพร้อมด้วยสำเนาแผนผังที่ได้รับอนุญาตทำทางเชื่อมถนนสาธารณะ หรือทางหลวง หรือถนนส่วนบุคคล หรือสำเนาหนังสืออนุญาตพร้อมด้วยสำเนาแผนผังที่ได้รับอนุญาตทำสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ
  • อื่นๆ (ถ้ามี)

 

ขั้นตอนในการยื่นขอต่ออายุใบอนุญาตตั้งปั๊มน้ำมัน

สำหรับผู้ประกอบการที่มีความประสงค์จะยื่นขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการสถานีบริการน้ำมันหรือปั๊มน้ำมันสามารถทำการยื่นเอกสาร (แบบ ธพ.น. ๖) ได้ภายใน 60 วัน ก่อนที่ใบอนุญาตประกอบกิจการสถานีบริการน้ำมันจะหมดอายุลง โดยที่เมื่อได้ทำการยื่นคำขอเพื่อต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการสถานีบริการน้ำมันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผู้ประกอบสามารถดำเนินกิจการปั๊มน้ำมันหรือตู้จ่ายน้ำมันต่อไปได้จนกว่าจะได้รับใบแจ้งไม่อนุญาตให้ประกอบกิจการต่อ

 

โดยหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเพื่อต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการสถานีบริการน้ำมัน มีดังนี้

  1. ในการพิจารณาออกใบอนุญาตต่ออายุฯ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบจะทำการตรวจสอบสถานที่ประกอบกิจการ และสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เพื่อประกอบการพิจารณาในการต่ออายุใบอนุญาต โดยอนุโลมให้ดำเนินการได้ภายในระยะเวลา 180 วัน ก่อนที่ใบอนุญาตประกอบกิจการเดิมจะหมดอายุ โดยมีหลักเกณฑ์ในการตรวจสอบ ดังนี้
    • สถานที่ประกอบการ และสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ไม่มีการต่อเติม แก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงรายละเอียดใด ๆ นอกเหนือจากแบบแปลนเดิมที่ได้รับการอนุญาต
    • สภาพของถังน้ำมันเชื้อเพลิง เครื่องสูบถ่ายน้ำมัน และระบบไฟฟ้าว่า มีสภาพการใช้งานได้ตามสมรรถนะของเครื่องจักรกลที่กำหนด และมีความปลอดภัยที่เพียงพอ
    • ระบบสุขาภิบาล ได้แก่ ห้องน้ำ ห้องส้วม ระบบรางระบายน้ำ การเก็บกักไขน้ำมัน รวมถึงระบบป้องกันภัย ได้แก่ เครื่องดับเพลิง อุปกรณ์เตือนภัย และสภาพของอาคารและสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ อยู่ในสภาพที่สามารถใช้งานได้ตามเกณฑ์กำหนด และมีความสะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อย

  2. ในการบันทึกผลการตรวจสอบเพื่อการพิจารณาออกใบอนุญาตต่ออายุฯ หากเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบเห็นว่าไม่ถูกต้องจะต้องทำการแจ้งให้ผู้ขออนุญาตทราบเพื่อทำการปรับปรุงแก้ไข แต่ถ้าหากเห็นว่าถูกต้องให้ดำเนินการเพื่อพิจารณาออกใบอนุญาตต่ออายุฯ

  3. เมื่อได้ทำการออกใบอนุญาตต่ออายุฯ เรียบร้อยแล้ว ให้องค์กรที่รับผิดชอบทำการส่งสำเนาใบอนุญาตไปยังสำนักงานพลังงานภายใน 15 วัน เพื่อใช้เป็นข้อมูลหลักฐานอ้างอิง

สำหรับผู้ประกอบการท่านไหนที่กำลังสนใจในการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการค้าปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง รวมไปถึงผู้ประกอบการที่ต้องการจะลงทุนในตู้จ่ายน้ำมัน และระบบจัดการน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อการใช้ในกิจการขนส่งของตนเอง พีดี เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ซัพพลาย ยินดีให้คำปรึกษาและพร้อมให้การดูแลทุกความต้องการของคุณด้วยผู้เชี่ยวชาญตลอด 24 ชั่วโมง เพียงแค่คุณกดปุ่มช่อง Chat บริเวณมุมขวาด้านล่าง ก็จะสามารถติดต่อกับเราได้ในทันที

 

สนใจสอบถามรายละเอียดและราคาติดต่อ :
บจก.พีดีเอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ซัพพลาย
โทรศัพท์ : 065-5121818 (ฝ่ายขาย) หรือ 089-9966974 (สายด่วน)
Website : www.pdesupply.com
Email : peerapong.p@pdesupply.com
LINE : @pdengineering