ขั้นตอนและหลักเกณฑ์ในการขอใบอนุญาตสถานีบริการน้ำมัน

ใบอนุญาตสถานีบริการน้ำมันตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการประกอบกิจการน้ำมัน

หลักเกณฑ์ในการขอใบอนุญาตสถานีบริการน้ำมัน

ใบอนุญาตสถานีบริการน้ำมันคือสิ่งที่จะขาดไปไม่ได้เลย หากเราต้องการดำเนินธุรกิจสถานีบริการน้ำมัน สถานที่กักเก็บน้ำมัน หรือแม้กระทั่งคลังน้ำมัน เนื่องด้วยพระราชบัญญัติข้อกฎหมายที่ถูกกำหนดมาอย่างแน่ชัดของกรมธุรกิจพลังงาน ทำให้สำหรับผู้ที่ต้องการจะเริ่มหรือขยับขยายธุรกิจนั้นมีความจำเป็นต้องดำเนินการให้ถูกต้องทุกขั้นตอน นั่นก็เพื่อความปลอดภัยต่อผู้ใช้บริการและผู้ประกอบการนั่นเอง และยังเป็นการป้องกันโอกาสเกิดอัคคีภัยที่อาจจะส่งผลอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมรอบข้างหากมีการก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐานอีกด้วย บทความนี้ พีดี เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ ซัพพลาย 2018 ชวนทำความรู้จักเกี่ยวกับขั้นตอนและหลักเกณฑ์การขอใบอนุญาตสถานีบริการน้ำมันให้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับการดำเนินธุรกิจและความปลอดภัยต่อผู้คนรอบข้าง


โดยหลักเกณฑ์ในการขอใบอนุญาตสถานีบริการน้ำมันนั้น เราต้องทำความรู้จักหลักเกณฑ์ที่เรียกว่ากิจการควบคุมซึ่งได้แบ่งออกด้วยกันเป็น 3 ประเภทดังนี้

กิจการควบคุมประเภทที่ 1 สามารถประกอบกิจการได้ในทันที โดยมีเงื่อนไขจัดเป็นสถานที่เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดใดชนิดหนึ่งหรือหลายชนิดก็ได้ ซึ่งจะประกอบไปด้วย

  • น้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟมาก ปริมาณไม่เกิน 40 ลิตร
  • น้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟปานกลาง ปริมาณไม่เกิน 227 ลิตร
  • น้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟน้อย ปริมาณไม่เกิน 454 ลิตร
  • ภาชนะบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ได้แก่ ขวด, กระป๋อง, ถัง, ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงบนดินขนาดเล็ก
  • ตัวอย่างกิจการเช่น ร้านจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงรายย่อย
  • สามารถประกอบกิจการได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อน และไม่จำเป็นต้องได้รับใบอนุญาตสถานีบริการน้ำมันก่อน

กิจการควบคุมประเภทที่ 2 เมื่อจะประกอบกิจการมีความจำเป็นต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อน โดยมีเงื่อนไขจัดเป็นสถานที่เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดใดชนิด

  • หนึ่งหรือหลายชนิดก็ได้ ซึ่งจะประกอบไปด้วย

  • น้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟมาก ปริมาณเกิน 40 ลิตรแต่ไม่เกิน 454 ลิตร

  • น้ำมันเชื้อเพลิงไวไฟปานกลาง ปริมาณเกิน 227 ลิตรแต่ไม่เกิน 1,000 ลิตร

  • น้ำมันเชื้อเพลิงไวไฟน้อย ปริมาณเกิน 454 ลิตร แต่ไม่เกิน 15,000 ลิตร

  • ภาชนะบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงได้แก่ ขวด, กระป๋อง, ถัง, ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงบนดินขนาดเล็ก, ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงบนดินขนาดใหญ่, ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้ดิน, ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงที่ติดตั้งภายในโป๊ะเหล็ก

  • ตัวอย่างกิจการเช่น โรงงานขนาดเล็กหรือเพื่อการเกษตร, ปั๊มถังลอยริมถนนขนาดเล็ก, ปั๊มหลอดแก้วมือหมุน, สถานีบริการน้ำมันทางน้ำขนาดเล็ก (เงื่อนไขภาชนะบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงและปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่สามารถบรรจุได้แตกต่างกันแต่ละประเภทกิจการ)

  • ไม่สามารถประกอบกิจการได้ในทันที เมื่อต้องการจะประกอบกิจการมีความจำเป็นต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อน และไม่จำเป็นต้องขอใบอนุญาตสถานีบริการน้ำมัน แต่จะได้ใบแจ้งการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 2 ภายหลังจากแจ้งเจ้าหน้าที่แล้ว

กิจการควบคุมประเภทที่ 3 มีความจำเป็นต้องได้รับใบอนุญาตสถานีบริการน้ำมันเสียก่อนจึงจะประกอบการได้ โดยมีเงื่อนไขจัดเป็นสถานที่เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดใดชนิดหนึ่งหรือหลายชนิดก็ได้ ซึ่งจะประกอบไปด้วย

  • น้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟมาก ปริมาณเกิน 454 ลิตรขึ้นไป

  • น้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟปานกลาง ปริมาณเกิน 1,000 ลิตรขึ้นไป

  • น้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟน้อย ปริมาณเกิน 15,000 ขึ้นไป

  • ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงทั้งหมดต้องไม่เกิน 500,000 ลิตร

  • ภาชนะบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงได้แก่ ขวด, กระป๋อง, ถัง, ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงบนดินขนาดเล็ก, ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงบนดินขนาดใหญ่, ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้ดิน, ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงที่ติดตั้งภายในโป๊ะเหล็ก

  • ตัวอย่างกิจการเช่น โรงงานขนาดใหญ่, สถานีเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเกิน 50,000 ลิตร, สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงติดถนนใหญ่, สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงติดถนนซอย, ปั๊มถังลอยริมถนนขนาดใหญ่, สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงทางน้ำขนาดใหญ่, สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่อากาศยาน (เงื่อนไขภาชนะบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงและปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่สามารถบรรจุได้แตกต่างกันแต่ละประเภทกิจการ)

  • ไม่สามารถประกอบกิจการได้ในทันที มีความจำเป็นต้องได้รับใบอนุญาตสถานีบริการน้ำมันประกอบกิจการประเภทที่ 3 เสียก่อนจึงจะประกอบกิจการได้

ขั้นตอนการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 2 และประเภทที่ 3

อย่างที่ทราบดีว่าหากธุรกิจน้ำมันของเรานั้นอยู่ในเงื่อนไขการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 1 เราสามารถดำเนินประกอบกิจการได้ในทันที โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบและไม่จำเป็นต้องได้รับใบอนุญาตสถานีบริการน้ำมันแต่อย่างใด แต่หากธุรกิจน้ำมันของเรานั้นอยู่ในเงื่อนไขประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 2 และประเภทที่ 3 นั้นมีความจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้เสียก่อน ก่อนจะสามารถดำเนินประกอบกิจการได้

ขั้นตอนการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 2 ซึ่งไม่จำเป็นต้องขอใบอนุญาตสถานีบริการ แต่จะได้ใบแจ้งการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 2 ภายหลังจากที่แจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบเสียก่อนโดยสามารถดำเนินการดังนี้

  • แจ้งติดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบเอกสาร ธพ.ป1 ซึ่งเอกสารจะประกอบไปด้วยกัน 3 ส่วนได้แก่ ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ขอรับใบอนุญาต, ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ประกอบกิจการ, เอกสารประกอบการแจ้ง

  • สำหรับผู้ที่ประกอบกิจการในเขตกรุงเทพมหานคร สามารถแจ้งได้ที่ กรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน

  • สำหรับผู้ที่ประกอบกิจการในจังหวัดอื่น สามารถแจ้งได้ที่สำนักงานพลังงานภูมิภาค หรือสำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แล้วแต่กรณี

  • เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งแล้วให้ออกใบรับแจ้งแล้ว ให้ออกใบรับแจ้งตามแบบ ธพ.ป2 (ใบรับแจ้งการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 2) กรณีนอกเขตกรุงเทพมหานครให้รายงานต่อกรมธุรกิจพลังงานทราบภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่ออกใบรับแจ้งแล้ว

ขั้นตอนการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 มีความจำเป็นต้องได้รับใบอนุญาตสถานีบริการน้ำมันเสียก่อน โดยสามารถดำเนินการได้ดังนี้

  • ยื่นใบคำขอรับใบอนุญาตแบบเอกสาร ธพ.น1 ซึ่งเอกสารจะประกอบไปด้วยข้อมูล 3 ส่วนได้แก่ ข้อมูลของผู้ได้รับใบอนุญาต, เอกสารหลักฐานที่ใช้ประกอบคำขอใบอนุญาต, ลักษณะการประกอบกิจการ

  • สำหรับผู้ที่ประกอบกิจการในเขตกรุงเทพ สามารถยื่นได้ที่กรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน

  • สำหรับผู้ที่ประกอบกิจการในจังหวัดอื่น สามารถแจ้งได้ที่สำนักงานพลังงานภูมิภาค หรือ สำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แล้วแต่กรณี

  • โดยเจ้าหน้าที่จะทำการตรวจสอบคำร้องขออนุญาตประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 และเอกสารหลักฐานประกอบ ภายหลังจากเอกสารครบแล้วเจ้าหน้าที่จะเข้าตรวจสถานที่ที่จะขออนุญาตประกอบกิจการ

  • ภายหลังผ่านการตรวจสอบแล้ว ผู้ขอใบอนุญาตสถานีบริการน้ำมัน สามารถดำเนินการก่อสร้างตามแบบที่ยื่นขอได้ และภายหลังจากดำเนินการติดตั้งถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง ระบบจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง และอุปกรณ์เรียบร้อยแล้ว ให้แจ้งเจ้าหน้าที่อีกครั้งเพื่อดำเนินเข้าตรวจสอบ

  • ภายหลังจากเจ้าหน้าที่เข้าควบคุมดูแล ทดสอบและตรวจสอบระบบความปลอดภัยของถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง ระบบจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ระบบท่อและอุปกรณ์ เพื่อพิจารณาการแจ้งผล

  • เมื่อตรวจสอบแล้วถูกต้องครบถ้วน ผู้ประกอบกิจการจะได้รับใบอนุญาตสถานีบริการน้ำมัน (ธพ.น2) สำหรับประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3

 

จะเห็นได้ว่าสำหรับการขออนุญาตใบอนุญาตสถานีบริการน้ำมันนั้น ผู้ประกอบกิจการจำเป็นต้องตรวจสอบให้แน่ชัดเสียก่อนว่ากิจการที่เรากำลังดำเนินการอยู่นั้นอยู่ในเกณฑ์ของประเภทกิจการควบคุมประเภทใดเสียก่อน นั่นก็เป็นเพราะว่าขั้นตอนในการดำเนินกิจการแต่ละประเภทกิจการควบคุมนั้นล้วนมีวิธีและขั้นตอนที่แตกต่างกันออกไป ตั้งแต่สามารถประกอบกิจการได้ทันที, ก่อนจะประกอบกิจการต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบเสียก่อน และสุดท้ายที่จำเป็นต้องได้รับใบขออนุญาตสถานีบริการน้ำมันก่อนถึงจะประกอบกิจการได้นั่นเอง

สำหรับเจ้าของกิจการท่านใดที่ต้องการขอใบอนุญาตสถานีบริการน้ำมัน การเลือกใช้บริการจากผู้เชี่ยวชาญอย่าง บริษัท พีดี เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ ซัพพลาย 2018 จำกัดก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เหมาะสม ด้วยความเป็นผู้นำด้านระบบจัดการน้ำมันครบวงจร นำเข้า ผลิต และจำหน่ายหัวจ่ายน้ำมัน ปั๊มดูดน้ำมันเชื้อเพลิง ตู้จ่ายน้ำมัน ถังน้ำมัน ระบบจัดการน้ำมัน และยังรวมไปถึงบริการ รับงานออกแบบ เขียนแบบ และยังรวมไปถึงการรับงานเดินเรื่องเพื่อขอใบอนุญาตสถานีบริการน้ำมันหรือใบอนุญาตประกอบกิจการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงทุกประเภทเช่น สถานีน้ำมัน สถานที่เก็บน้ำมัน คลังน้ำมัน โดยทีมงานมืออาชีพผู้เชี่ยวชาญหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่กรมธุรกิจพลังงานกำหนดโดยเฉพาะ มั่นใจได้ถึงโอกาสในการดำเนินธุรกิจอย่างราบรื่น ต่อยอดกิจการได้อย่างต่อเนื่อง โดยบริการมากความเชี่ยวชาญจาก พีดี เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ ซัพพลาย 2018

 

สนใจสอบถามใบอนุญาตสถานีบริการน้ำมัน ตู้จ่ายน้ำมัน ถังน้ำมัน ถังน้ำมันเหล็ก รายละเอียดและราคา ติดต่อ :
บจก.พีดีเอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ซัพพลาย
โทรศัพท์ : 065-5121818 (ฝ่ายขาย) หรือ 089-9966974 (สายด่วน)
Website : www.pdesupply.com
Email : peerapong.p@pdesupply.com
LINE : @pdengineering